วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

การดูแลรักษาเฟอร์นิเจอร์ไม้

         เฟอร์นิเจอร์ไม้นั้นเป็นวัสดุที่มีราคาแพงเพราะวัตถุดิบคือไม้ซึ่งมีราคาแพงและยังหายากในปัจจุบันแต่ก็ยังคงมีคนอีกจำนวน ไม่น้อยที่ยังคงชื่นชอบวัสดุตกแต่งบ้านที่ทำมาจากไม้ เช่น อย่างเฟอร์นิเจอร์ไม้และเครื่องเรือนต่างๆ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไม้เป็นวัสดุที่ให้ความรู้สึกที่เป็นธรรมชาติหรือใกล้ ชิดธรรมชาติมากกว่าวัสดุทดแทนประเภทอื่นๆ นอกจากนั้นไม้ยังมีลายที่สวยงามหลากหลายเพียงแต่ใช้วัสดุเคลือบเงาไม่จำเป็น ต้องทาสีก็ดูสวยงาม ไม้ยังมีความแข็งแรงคงทนและมีอายุการใช้งานที่ยาวนานแต่การที่จะให้ไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนานได้นั้นจำเป็นต้องมีการดูแลรักษา ที่ดีและถูกวิธี เครื่องเรือนที่ทำด้วยไม้ต้องไม่วางใกล้แหล่งความร้อนหรือในที่ที่มี อุณหภูมิสูง ไม่วางบนพื้นที่เปียกชื้นและไม่ควรให้ถูกแสงแดด แสงจากดวงโคมหรือแสงสปอตไลท์โดยตรง ควรระวังรักษาไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนบนเนื้อไม้และระวังไม่ให้มีน้ำหยดลงบน เนื้อไม้เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำลายความสวยงามของเนื้อไม้และลายไม้ ทำให้ผิวของไม้ซีดจางลง ศัตรูที่สำคัญของไม้คือปลวกและแมลงต่างๆ ที่กัดกินเนื้อไม้จึงต้องหมั่นตรวจตราดูแลเสมอเพื่อที่จะช่วยให้สามารถรักษา ความสวยงามตามธรรมชาติและให้ไม้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน




ความปลอดภัยในการทำงาน



    ในการปฏิบัติงานในโรงงานสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอ  คือ ความปลอดภัย  โดยเฉพาะการผลิตในภาคอุตสาหกรรม  ซึ่งมีความเสี่ยงสูงใน
ที่จะได้รับอันตรายในการทำงาน  หากการป้องกันไม่รัดกุมเพียงพอก็จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งผู้ปฏิบัติงาน วัตถุดิบ  และเครื่องจักรในการผลิต  อุบัติเหตุ
ส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากเครื่องจักรโดยการรู้เท่าไม่ถึงการณ์  และความประมาทของผู้ปฏิบัติงานเอง
                                    นอกจากนี้แล้วสภาพแวดล้อมในการทำงานก็ก่อให้เกิดอันตรายได้  เช่น  การวางผังโรงงาน  อากาศ  แสงสว่าง  เสียง  สิ่งเหล่านี้หากมี
ความบกพร่องและผิดมาตรฐานที่กำหนดไว้
                                    ดังนั้นความปลอดภัยในการทำงานจึงเป็นความพอใจอย่างหนึ่งที่ทุกฝ่ายควรมีแก่กัน  ซึ่งนับว่าเป็นหัวใจของการทำงาน  เราควรฝึก
เสียตั้งแต่เริ่มแรก  เมื่อมีความรู้และความเข้าใจแล้วนั่นหมายความว่าตลอดชีวิตของการทำงานจะไม่ประสบอันตราย
                                    ความปลอดภัยในการทำงาน
  คือ  สภาพที่ปลอดภัยจากอุบัติเหตุต่าง ๆ เกิดแก่ร่างกาย  ชีวิต  หรือทรัพย์สินในขณะที่ปฏิบัติงาน  ซึ่ง
ก็คือสภาพการทำงานให้ถูกต้องโดยปราศจาก  "อุบัติเหตุ"  ในการทำงาน
                                    อุบัติเหตุ 
 
คือ  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดหมาย  และเมื่อเกิดขึ้นแล้ว  จะมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำงาน  ทำให้ทรัพย์สิน
เสียหาย  หรือบุคคลได้รับบาดเจ็บ
  

ขั้นตอนการทำงานทั่วไปในการทำสี

ขั้นตอนการทำงานทั่วไปในการทำสี

                เพื่อนๆหลายๆท่านคงจะทราบนะครับ ว่าอู่เคาะ-ซ่อมสีตัวถังรถยนต์นั้นมีหลายประเภท ที่ๆเรียกกันว่า อู่ธรรมดา หรืออู่ข้างถนนทั่วไป บางอู่เน้นเรื่องราคา! คุณภาพที่ออกมาก็พอรับได้ในตอนรับรถ ความเงางามก็ดูพอใช้ แต่เชื่อไมครับ ผ่านไปครึ่งปี งานที่ไม่ได้คุณภาพพวกนี้ก็เริ่มจะฉายแวว เพราะตัวถังรถเป็นส่วนที่ถูกตากแดด ฝากระโปรงได้รับความร้อนจากตัวเครื่อง จะเป็นยังไงละครับ งานสีพวกนี้เฉดสีก็จะผิดเพี้ยน สีซีดจาง สีแตก และอื่นๆ อ้าว! ทีนี้เพื่อนๆจะกลับไปต่อว่าอู่สีนั้นหรือครับ ได้งานออกมาครึ่งปีแล้ว ผู้ประกอบการก็มีข้ออ้างมากมาย เพื่อนๆก็ทำได้เพียงแค่หาอู่ใหม่ไปทำ เสียเงินเสียทองอีก อันนี้ต้องระวังเป็นพิเศษ

อู่อีกประเภทก็เป็นอู่ที่เรียกว่าอู่ห้าง อู่ห้างนั้น เรื่องราคาจะสูงกว่าอู่ทั่วไปอยู่บ้าง ผู้ที่ทำประกันภัยชั้นหนึ่งที่ทำเบี้ยอู่ห้างก็จะมีสิทธิ์เข้ามาทำที่อู่ห้างเท่านั้น ถ้าไม่ใช่เบี้ยอู่ห้าง ทางลูกค้าก็จะต้องจ่ายเงินค่าส่วนต่างเพิ่มเติม เพื่อที่จะมาservice กับอู่ห้าง ทั้งนี้ทั้งนั้น ในการพิจารณานำรถมาเข้าอู่ห้าง เพื่อนๆก็ต้องดูด้วยว่ามาตรฐานของอู่นั้นๆเพียงพอแค่ไหนนะครับ เดี๋ยวผมจะอธิบายขั้นตอนการทำสีคร่าวๆของทาง พรภพเจริญยนต์ เพื่อที่เพื่อนๆจะได้ เป็นข้อมูลเวลาที่จะนำรถเข้าไปทำสีครับ


1.  รับรถจากลูกค้า ในกรณีที่รถของท่านได้ประสบอุบัติเหตุ ทางเราก็ได้มีการประสานงานกับบริษัทรถลาก หรือท่านจะสะดวกนำรถเข้ามาเองก็ได้ จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทำเอกสาร ถ้าท่านทำประกันไว้ ทางเราก็จะมีเจ้าหน้าที่ คุยกับทางประกัน โดยเอกสารที่ท่านจะต้องเตรียมมี เอกสารใบเคลมตัวจริงที่ทางประกันภัยออกให้ เอกสารสำเนาทะเบียนรถ เอกสารสำคัญของท่านเจ้าของรถ นั่นก็คือ สำเนาใบขับขี่ สำเนาบัตรประชาชน และสำเนาตารางกรมทัณฑ์ เพียงแค่นี้ทางเราก็จะจัดการเรื่องทุกอย่างของท่านได้ทั้งหมด
2. ดำเนินงานด้านการเคาะตัวถัง แก้ไขดัดแปลงในส่วนที่ได้รับความเสียหาย เปลี่ยนอะไหล่ และดำเนินการจัดแต่งรูปทรงรถให้เสร็จสมบูรณ์
3.การ โป๊วหยาบ เพื่ออุดร่องรอยของความเสียหาย ในส่วนนี้จะใช้ยาโป๊วแห้งช้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบสี 2k หรือระบบแห้งช้า ขั้นตอนนี้ต้องทิ้งงานให้แห้งสนิท ใช้เวลาอย่างน้อย 18 -24 ชม
4. ติดกระดาษหรือแผ่นพลาสติก เพื่อกันไม่ให้สีที่กำลังจะพ่น ไปติดกับชิ้นส่วนต่างๆ เช่นกระจก ยางขอบกระจก หรือส่วนตัวถังอื่นๆ
5. พ่นรองพื้น
6. เก็บรอย ต่างๆบนพื้นผิวงาน ก่อนดำเนินการพ่นสี

7. ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด นั่นคือการพ่นสี ขั้นตอนนี้ต้องใช้ช่างผู้ชำนาญการ เพราะสีผิดเพี้ยนเพียงนิดเดียว รถของท่านก็จะดูไม่สวยงาม
8. ขัดเงา และ ประกอบ
9. พอเสร็จกระบวนการ ก็นำรถลูกค้า

งานประดิษฐ์และงานช่าง

ความหมายของงานช่าง

    งาน หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ทำ, การพิธี หรือการรื่นเริงที่คนมาชุมนุมกัน
    ช่าง หมายถึง ผู้ชำนาญในการฝีมือหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง
    งานช่าง หมายถึง สิ่งหรือเรื่องที่ทำโดยผู้ชำนาญในการฝีมือ โดยมีศิลปะ


ความสำคัญของงานช่าง
    งานช่างด้านต่าง ๆ เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต งานช่างทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงวัสดุให้เกิดประโยชน์ และสามารถนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนวิชางานช่างไปใช้ในครอบครัว


ประโยชน์ของงานช่าง     1. สามารถใช้เครื่องใช้มนบ้านอย่างถูกวิธีและปลอดภัย
    2. รู้วิธีการบำรุงรักษาเครื่องใช้ในบ้างทำให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน
    3. สร้างลักษณะนิสัยที่ดีในเรื่องความรับผิดชอบ ความอดทน ความประหยัด และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    4. เกิดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
    5. ฝึกให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สร้างชิ้นงานรูปแบบแปลกใหม่เพิ่มขึ้น
    6. ฝึกใช้เวลาให้เกิดประโยชน์
    7. สามารถเป็นพื้นฐานในการศึกษางานอาชีพและการประกอบอาชีพต่อไป


ประเภทของงานช่าง     งานช่างในประเทศไทย ถ้าแบ่งตามหลักฐานที่มีมาตั้งแต่โบราณ โดยแบ่งตามลักษณะของชิ้นงานแบ่งออกเป็นช่าง 10 หมู่ดังนี้
        1. งานช่างเขียน
        2. งานช่างแกะ
        3. งานช่างสลัก
        4. งานช่างปั้น
        5. งานช่างปูน
        6. งานช่างรัก
        7. งานช่างหุ่น
        8. งานช่างบุ
        9. งานช่างกลึง
        10. งานช่างหล่อ
    งานช่างที่มีความสัมพันธ์กับการดำรงชีวิต หรือเรียกว่าช่างในบ้าน แบ่งออกเป็น 6 งาน ดังนี้
        1. งานไฟฟ้า
        2. งานประปา
        3. งานช่างสี
        4. งานปูน
        5. งานโลหะ
        6. งานไม้


งานช่างทุกช่างในการปฏิบัติงานให้ได้เกิดผลผลิตที่มีคุณภาพจะต้องประกอบไปด้วยงานหลัก 4 งานดังนี้
    1. งานบำรุงรักษา
        งานบำรุงรักษา เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    2. งานซ่อมแซม
        งานซ่อมแซม เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือ เครื่องใช้โดยผู้ปฏิบัติจะต้องนำหลักการของวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือมาใช้ เพื่อตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องใช้ อุปกรณ์ภายในบ้านที่ชำรุดหรือเสียหายให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
    3. งานติดตั้ง
        งานติดตั้ง เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับหลักการทำงานของเครื่องมือเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้าน โดยผู้ปฏิบัติสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่เหมาะสม เพื่อติดตั้งเครื่องใช้ อุปกรณ์ในบ้านให้สามารถใช้งานและอำนวยประโยชน์ได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
    4. งานผลิต                                    
        งานผลิต เป็นงานที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถและทักษะเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ วางแผน ออกแบบและผลิตชิ้นงาน โดยผู้ปฏิบัติต้องสามารถเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และวิธีการทำงานช่างอย่างเป็นกระบวนการ เพื่อวางแผนการปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิตประจำวัน


ความหมายของเครื่องมือ,วัสดุและอุปกรณ์
    - เครื่องมือ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์คิดค้นขึ้นหรือประดิษฐ์ขึ้นมาใช้เพื่อความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและแรงงาน
    - วัสดุ หมายถึง สิ่งที่ใช้แล้วสิ้นเปลืองและหมดไป เช่น สี กาว สายไฟ ยางลบ ดินสอ
    - อุปกรณ์ หมายถึง สิ่งที่ใช้แล้วยังคงเหลือ สามารถใช้ได้อีก เช่น กรรไกร เลื่อย คีม


หลักการเลือกซื้อ เครื่องมือ วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้งานในงานช่าง 
    1. ประสิทธิภาพในการใช้งานมากกว่าคำนึงถึงเรื่องราคาเพียงอย่างเดียว

    2. ความทนทาน สามารถใช้งานได้ยาวนาน เพื่อคุ้มค่าในการเลือกซื้อ
    3. ความสะดวกในการใช้งาน เมื่อเกิดการชำรุดแล้วสามารถซื้ออะไหล่มาเปลี่ยนได้ง่าย
    4. ความปลอดภัย โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้า ควรมีตรารับรองคุณภาพ
 
ประเภทของเครื่องมือ ที่ใช้ในงานช่าง แบ่งตามประเภทการใช้งานได้ 4 ประเภท ดังนี้     1. เครื่องมือประเภทตัด
    2. เครื่องมือประเภทตอก
    3. เครื่องมือประเภทเจาะ
    4. เครื่องมือประเภทวัด


ประเภทของเครื่องมือที่ใช้ในงานช่าง แบ่งตามลักษณะของงานแต่ละประเภท ดังนี้
    1. งานไม้
    2. งานปูน
    3. งานโลหะ
    4. งานไฟฟ้า
    5. งานประปา


http://www.trueplookpanya.com

งานช่างสี

งานช่างสี

งานช่างสี
             งานช่างสี  เป็นงานช่างขั้นสุดท้ายของงานช่างหลายแขนง  เช่น  งานไม้  งานปูน  และงานโลหะ  เพื่อตกแต่งงานที่จัดทำสำเร็จแล้ว  ให้ดูเรียบร้อยสวยงาม  งานช่างสีนอกจากจะทำให้เกิดความสวยงามเรียบร้อยแล้ว  ยังช่วยให้งานแต่ละชิ้นมีความคงทนถาวรยิ่งขึ้น  ยืดอายุ     การใช้งานให้ยาวนานขึ้น  งานช่างสีมีหลักวิธีการ  เครื่องมือเครื่องใช้และวัสดุที่ต้องศึกษา  จึงจะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  งานช่างสีเป็นงานที่ทำได้ทั้งชายและหญิง


การแบ่งประเภทของสี แบ่งตามการใช้งานโดยเริ่มจากชั้นล่างสุด คือ


1. สีรองพื้น ( Primer ) หมายถึงสีชั้นแรกสุด ที่เคลือบติดวัสดุนั้นๆ เช่น สีรองพื้นกันสนิมมีหน้าที่กันไม่ให้เกิดสนิมเหล็ก หรือเกิดช้าที่สุด สีรองพื้นปูนใหม่กันด่าง คือ สีที่กันความเป็นด่างจากพื้นปูนใหม่ เพื่อไม่ให้เกิดความเป็นด่างจากเนื้อปูน ทำปฏิกิริยากับสีทาทับหน้า ลดจำนวนสีทับหน้า วิธีนี้สามารถลดจำนวนสีทับหน้าลงได้


2. สีชั้นกลาง ( Undercoat ) เป็นสีชั้นที่สองรองจากสีรองพื้น เป็นสีที่เป็นตัวประสานระหว่างสีรองพื้นกับสีทับหน้า เป็นตัวเพิ่มความหนาของฟิล์มสี และลดการใช้สีทับหน้า


3. สีทับหน้า ( Top Coat ) เป็นสีขั้นสุดท้ายที่จะให้คุณสมบัติที่สวยงาม คงทน เงางาม มีสีมากมายให้เลือกใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ เช่น สีขาว เหลือง แดง ขึ้นอยู่กับรสนิยมและความพอใจ


4. สีทับหน้าประเภทใส ( Clear T/C ) เป็นสีที่ไม่มี Pigment จะไม่มีสีเป็นสีใสๆ หรือเหลืองอ่อน ใช้เคลือบบนวัสดุต่างๆ ให้เงามากขึ้น หรือด้าน หรือกึ่งเงากึ่งด้าน


การจำแนกวัตถุประสงค์ของสีกับการใช้งาน


สีเป็นวัสดุเคลือบผิวชนิดหนึ่ง ซึ่งผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ประโยชน์ต่างๆ แล้วสรุปจำแนกสีนำไปใช้งานได้อย่างคร่าวๆ เพื่อให้ีความเข้าใจ แบบกว้างๆเกี่ยวกับการแยกลักษณะการใช้งานของสีชนิดต่างๆดังนี้
1. สีทาซีเมนต์ / คอนกรีต เช่น บ้าน อาคาร ตึก คอนโด อาพาร์ทเมนต์ ที่ใช้ปูนซีเมนต์ เป็นหลัก ควรใช้สีน้ำหรือสีน้ำ Emulsion เคลือบทับพื้นผิว ดูระบบด้วย
2. สีทาไม้ – ทาเหล็ก เช่น บ้านไม้ เรือไม้ เรือเหล็กขนาดเล็ก ชิ้นงานเหล็กต่างๆ ควรใช้สีเคลือบเงาทาดูระบบด้วย
3. สีทาถนน ถนนคอนกรีต ถนนลาดยาง ควรใช้สีทาถนนโดยเฉพาะ
4. สีอบ เป็นสีที่ใช้ความร้อน อบชิ้นงาน เช่น ตู้เอกสาร แผ่นโลหะเคลือบต่างๆ
5. สีอบ ประเภท UV Cure เป็นสีหรือกึ่งหมึกพิมพ์ ใช้กับถุงอาหาร จะผ่านแสง UV และจะแห้งทันที เช่น ถุงอาหาร ดินสอ
6. สีทนความร้อน เป็นสีที่ใช้กับงานต่างๆ ที่ต้องการทนความร้อน เช่น ปล่องไฟ ปล่องควัน ท่อไอเสีย
7. สีใช้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น ทาท่อน้ำ ปล่องไฟ ท่อก๊าซ ทาขอบถนนบอกเป็นห้ามจอด ขอบทาง
8. สีใช้งานเฉพาะ เช่น สีพ่น Acrylic ประตู Alloy สีกันเพรียง สีทาเรือรบ สีพ่นรถยนต์ สีพรางรถถัง สีพ่นตู้เอกสาร สีพ่นเครื่องดับเพลิง ฯลฯ จะมีระบุเฉพาะ
แนวคิดในการเลือกใช้สี
สีในท้องตลาดมีมากมายหลายชนิด แบ่งแยกตามจุดประสงค์การใช้งาน แนวคิดกว้างๆ ในการเลือกใช้สี ต้องเลือกใช้สี ที่เหมาะสม กับจุดประสงค์ การใช้งาน เพื่อประโยชน์สูงสุด ที่ได้รับ การเลือกสีสำหรับอาคารนั้น ต้องเลือกให้ตรงตาม วัตถุประสงค์ที่ใช้ โดยแยกตาม ประโยชน์และหน้าที่ เฉพาะของสีโดยมี รายละเอียดดังต่อไปนี้


1. ทาสีเพื่อปกป้องพื้นผิว การทีสีนั้นนอกจากทำเพื่อความเรียบร้อยสวยงามแล้วยังช่วยปกป้องและป้องกันความเสียหายอันเกิดกับพื้นผิวของวัสดุต่างๆ ของอาคารจากการกัดกร่อนของธรรมชาติ ได้แก่ แสงแดด ฝน สภาวะอากาศ รวมถึงทั้งสารเคมี และการสัมผัส เช็ด ถู ขูดขีด เป็นต้น


2. เพื่อสุขลักษณะและความสะอาด การทาสีที่ผ่านการเลือกใช้อย่างดี ถูกต้องตามลักษณะการใช้สอยของพื้นที่ในส่วนต่าง ๆ แล้ว จะช่วยทำให้ผิวหน้าของพื้นผิวเมื่อมีการใช้งานจะทำความสะอาดได้ง่ายไม่ดูดซึมน้ำและสารละลายต่างๆ ได้ เช่น ครัว ควรใช้สีที่ทำความสะอาดง่ายเช่นสีน้ำมัน หรือ สีAcrylic อย่างดี, ห้อง LAB หรือห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ ควรใช้สีที่มีความทนทานต่อสารเคมี และห้องน้ำ ควรใช้สีที่ทนต่อน้ำและความชื้นได้ดี ทำความสะอาดง่าย เป็นต้น


3. เพื่อปรับความเข้มของแสง บรรดาเฉดสีต่างๆ นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์ความรู้สึกของผู้อยู่อาศัย เช่น ทำให้ดูโล่งกว้าง ดูหนักแน่น หรือดูเร้าใจ เป็นต้นแล้วก็ยังจะมีส่วนช่วยในการปรับ ความเข้ม จาง ของแสงจากแสงแดดและแสงไฟฟ้า เฉดของสีมีส่วนช่วยเพิ่มหรือลดความเข้มของแสงในอาคารได้ เช่น ในห้องอ่านหนังสือที่ต้องการแสงสว่างมาก ๆ ก็ควรใช้เฉดสีสว่าง เช่น สีขาว ในขณะที่ห้องชมภาพยนตร์ ควรจะเลือกใช้เฉดสีที่มืด ไม่รบกวนการชมภาพยนตร์ เป็นต้น ในห้องที่แสงไม่พอ ก็สามารถ ใช้เฉดสีสว่างเข้ามาช่วยทำให้แสงภายในห้องดีขึ้นได้ส่วนหนึ่ง


4. สัญลักษณ์เครื่องหมาย บางครั้งก็มีการใช้สีสื่อความหมาย เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์ ในรูปกราฟฟิก สีบางชนิด จะมีการสื่อ ความหมาย เป็นแบบมาตรฐานสากลได้ เช่น ป้ายจราจร สัญลักษณ์ ระวังอันตรายต่างๆ เป็นต้น


5. ความสวยงาม ประการสุดท้ายซึ่งเป็นประการสำคัญในการเลือกใช้สี คือเรื่องของความสวยงามความพอใจ ซึ่งเป็นผลโดยตรง และเห็นได้ชัดเจนที่สุด สำหรับงาน ทางสถาปัตยกรรม อาคารบ้านเรือนต่างๆ การเลือกชนิดของสี และ เฉดสีอาจช่วยเน้น ให้แนวความคิดใน การออกแบบแสดงออกมา ได้ดียิ่งขึ้น
การเลือกใช้สีนั้น อันดับแรก ต้องพิจาณา ถึงความต้องการใช้สอยในพื้นที่ที่จะทาเสียก่อน ว่ามีการใช้งานมากน้อย หนักเบาอย่างไรบ้าง ดูว่าพื้นที่นั้น ๆ มีความต้องการพิเศษ หรือไม่อย่างไร สุดท้ายจึงคำนึงถึงความชอบ ความสวยงาม
ชนิดและประเภทของสีเพื่อการใช้งาน
สีชนิดทาภายนอกอาคาร คือ สีที่จะทาในส่วนภายนอกอาคารทั้งหมด ที่มีการระบุให้ทาสี รวมทั้งพื้นผิวส่วนที่เปิดสู่ภายนอก หรือ พื้นผิวส่วนที่จะได้รับแสงแดดโดยตรงจากภายนอกได้ ให้ทาด้วยสีประเภทอาคิลิค (Pure Acrylic Paint )โดยทำการทา 3 เที่ยว ในการทาสีทุกชนิดโดยเฉพาะสีทาภายนอกนั้น ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการเตรียมพื้นผิวสำหรับการทาสีนั่นเอง เพราะกว่า 80 % ของ การวิบัติของสี เกิดมาจาก การเตรียมพื้นผิวไม่ดี ก่อนการทาสีนั้น ต้องให้แน่ใจว่า พื้นที่จะทานั้น แห้งสนิท ไม่มีสภาพ เป็นกรดด่าง หรือมีฝุ่นเกาะ ควรเป็น ผนังที่ฉาบเรียบ ไม่มีรอยแตกให้เห็น หากมีต้องทำ การโป๊วปิดรอยต่อ เสียให้เรียบร้อย ก่อน การทาสี โดยปรกติ การทาสีทุกประเภทจะทาประมาณ 2 – 3 รอบและ ไม่ควร ทาสีเกิน 5 รอบ เพราะจะทำให้ชั้นของสี มีความหนาเกินไป และหลุดร่อนได้ง่าย


สีน้ำพลาสติกทาภายใน คือ สีที่จะทา ส่วนภายในอาคาร เช่น ผนังฉาบปูนพื้นผิว ยิปซั่มบอร์ด กระแผ่นเรียบ หรือส่วนอื่นๆ ที่ระบุให้ทา ด้วยสีพลาสติก ( ทา 2-3 เที่ยว ) ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะนำสีภายในใช้ทาผนังภายนอก เนื่องจากสีภายใน ไม่ทนแดดทนฝน ทำให้สี หลุดร่อนได้ง่าย ที่คิดว่ามีราคาถูกกว่าสีทาภายนอกตั้งแต่แรกก็จะกลายเป็นแพงกว่าขึ้นมาทันที แถมยังเสียเวลา เสียความรู้สึก อีกด้วย เวลาสีหลุดล่อนแตกลายงา ส่วนในผนังที่จะทาสีน้ำมันต้องสะอาด แห้ง และสิ่งที่สำคัญมากคือ ต้องไม่มีความชื้นเพราะ ความชื้นที่มีอยู่ ภายใน หากทาสีแล้วชั้น ของสีน้ำมันจะทับทำให้ระบายอากาศไม่ได้และจะทำให้เนื้อสีพอง บวม ออกมาได้ชัดเจน มากกว่าสีน้ำ หรือ สีอาคิลิค (Acrylic) สีในแต่ละส่วนของบ้าน ไม่ว่าจะเป็นภายนอก ภายใน หรือส่วนอื่นของบ้านย่อมมี รายละเอียดของสี ที่ทาแตกต่างกัน
http://www.pobclub.com/